for all
well-being

Whizdom banner

REGISTER FORM

REGISTER FORM

ดร.สิงห์ ร่วมสัมมนาออนไลน์ Designing Resilience in Asia

Well-being
2 ปีที่แล้ว
  • MQDC
  • /
  • NEWS
  • /
  • ดร.สิงห์ ร่วมสัมมนาออนไลน์ Designing Resilience in Asia
ดร.สิงห์ ร่วมสัมมนาออนไลน์ Designing Resilience in Asia

รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ร่วมบรรยายในงานสัมมนาออนไลน์ “DRIA Talk: ‘Adaptive Urbanization, Regenerative Landscapes’ Mitigating the Impact on Growing Cities and their Rural Surroundings” ทาง Zoom Meeting และ Facebook Live จัดโดยโครงการวิจัยระดับนานาชาติ Designing Resilience in Asia

https://mqdc.com/storage/uploads/mqdc_backend/originals/fd89a494-db70-4129-a7f2-d685c12de874.jpg

วันที่ 16 กรกฎาคม 2564, กรุงเทพฯ - รศ.ดร. สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ร่วมบรรยายในงานสัมมนาออนไลน์ “DRIA Talk: ‘Adaptive Urbanization, Regenerative Landscapes’ Mitigating the Impact on Growing Cities and their Rural Surroundings” ทาง Zoom Meeting และ Facebook Live จัดโดยโครงการวิจัยระดับนานาชาติ Designing Resilience in Asia

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันแนวคิด Resilience ในการพัฒนาเมืองสู่อนาคต ซึ่งดร. สิงห์ ได้บรรยายหัวข้อ “Resilience Framework for Property Development” กับแนวคิดการออกแบบที่รองรับความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในภาคอสังหาริมทรัพย์ พร้อมทั้งอธิบายนิยามของ Resilience ตั้งแต่ระดับบุคคล (individual) ไปจนถึงระดับการออกแบบเมือง (Urban or City)

โดยดร. สิงห์ ได้พูดถึงการเตรียมความพร้อมภายใต้กรอบการพัฒนาเมืองที่สามารถปรับตัวท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ประกอบกับความแตกต่างทางความคิดในสังคมกับการให้ความสำคัญของการประยุกต์ใช้แนวคิด Resilience ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้าน

1. Living & Infrastructure เช่น ปัญหาการจลาจร การจัดการพลังงาน การศึกษา การอุปโภคบริโภค และที่อยู่อาศัย

2. Nature & Environment เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ มลภาวะทางอากาศ ปัญหาคุณภาพน้ำ น้ำท่วม โรคระบาด ภัยแล้ง ภาวะโลกรวน และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

3. Society & Economy เช่น ความยากจน ความปลอดภัย หรือความไม่สงบด้านสังคม

พร้อมทั้งนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา Resilience City ซึ่งส่งเสริมต่อการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ อาทิ การสร้างแหล่งเก็บน้ำเพื่อรับมือกับภัยแล้ง การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศระดับเมือง การสร้างระบบจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบอาคารเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพก่อนพัฒนาโครงการ การออกแบบอาคารเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อ การส่งเสริมแหล่งบริโภคที่ปลอดภัย การสร้างพื้นที่บำบัดด้านสุขภาพจิต และการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในสังคมและโลกดิจิทัล เป็นต้น

ทั้งนี้ ดร.สิงห์ กล่าวเสริมว่า framework หรือกรอบการพัฒนาที่กล่าวถึง จะช่วยจัดลำดับความสำคัญของการแก้ไขปัญหาแต่ละหมวดได้ตรงจุด พร้อมทั้งยกตัวอย่าง The Forestias โดย MQDC โครงการเมืองในป่าใหญ่ที่นำแนวคิด Resilience มาใช้ออกแบบและพัฒนาองค์ประกอบภายใน ซึ่งถือเป็นแบบอย่างการสร้าง Resilience City ที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขควบคู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง

รับชมบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม >>> คลิก